อาจารย์ต้น ตั้งชื่อดีทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ

อาจารย์ต้น ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อ ( พลังนวพล ธัมวรวัฒน์ ) แอดไลน์ด้วยคิวอาร์โค้ต หรือ ไอดีไลน์ ajanton999 / ชื่อสวย นามสกุลภูมิฐาน,ร่ำรวย, ชื่อลูก, ชื่อบริษัท, ร้าน,ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บ ได้รับชื่อเร็วไม่เกิน 45 ช.ม. รับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียง 26 ปี * ดูรีวิวความพึงพอใจได้ที่เมนู "หน้าแรก"

หยุดเป็นมนุษย์ 100 ชื่อ ตัววิ่ง

ดีครบทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ ดีครบทุกศาสตร์ยอดฮิต หยุดการเป็นมนุษย์ 100 ชื่อได้ที่นี่

ประสบการณ์ ตัววิ่ง

ได้รับชื่อเร็วทันใจ ประสบการณ์ 26 ปี เปิดเว็บนี้ปีที่ 16 เชื่อถือได้ 100 %

อาจารย์แบ่งค่าครูทำบุญเพื่อการกุศลอย่างจริงจัง อยากเชื้อเชิญให้เลื่อนลงสุด



นามสกุล ชื่อตระกูล ถ้าดีลูกหลานก็โชคดีไปด้วย


นามสกุล  


สมัยใหม่ยุคศตวรรษที่  21  (ปัจจุบัน)   ยุคนี้สมัยนี้ ทำไมจึงมีการเปลี่ยนนามสกุลกันมากเป็นประวัติการณ์    กรณีชื่อไม่เข้ากับนามสกุลอันนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ฮิตที่สุด  เพราะหากชื่อ + นามสกุลแล้วไม่ดี  ก็หมายถึง ในระยะยาวชีวิตจะมีปัญหาแน่

เหตุผลอื่น ๆ ก็คือ  ต้องการความไพเราะ,ทันสมัย,ดูดีมีชาติตระกูล, ความหมายร่ำรวยรุ่งเรือง, สุขภาพแข็งแรง, โชคดี, มีความรักอบอุ่น  ฯลฯ     

บางคนเมื่อจะเปลี่ยนนามสกุล   ก็เลยเปลี่ยนชื่อไปด้วยเสียเลย   ด้วยหลายเหตุผล  เช่น  ชื่อเดิมไม่ไพเราะ  ชื่อเชยๆ  ชื่อมีความหมายตลก ๆ  ชื่อไม่เข้ากับศาสตร์ที่เป็นมงคล  ชื่อรวมกับนามสกุลแล้วเสียไม่เป็นมงคล  และ  ไหน ๆ ต้องไปเขตไปอำเภอแล้วก็ทำเสียทีเดียวจบเป็นต้น


นามสกุลก็คือ  ชื่อของตระกูล เพื่อบ่งบอกว่ามาจากครอบครัวไหน  ถิ่นฐานไหน  บ้านไหน  

ในหลาย ๆ วัฒนธรรม  จะมีนามสกุลต่อท้ายชื่อ   บางวัฒนธรรมจะมีนามสกุลนำหน้าชื่อ  และบางวัฒนะธรรมจะเรียกกันเป็นทางการด้วยนามสกุล


  • วัฒนธรรมที่มีนามสกุลต่อท้ายชื่อ  ได้แก้  ตะวันออกกลาง  ทวีปแอฟริกา  ประเทศตะวันตก  และไทย
  • วัฒนธรรมที่มีนามสกุลนำหน้าชื่อ  ได้แก่   จีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  เวียดนาม กัมพูชา  โปแลนด์  และฮังการี
  • วัฒนธรรมที่ที่มีนามสกุลต่อท้ายชื่อแต่นิยมเรียกนามสกุลอย่างเช่น  ตะวันตก  พูดง่าย ๆ ก็ฝรั่งนั่นแหละ
  • ประเทศตะวันตก  ่จีน  ญี่ปุ่น  นิยมเรียกนามสกุลเป็นการให้เกียรติกัน
  • ที่แปลกออกไปก็มีที่   ประเทศเวเนซูเอล่า  จะใช้ทั้งนามสกุลของพ่อและของแม่ด้วย  ใช้สองนามสกุลเลย


ในประเทศไทย  ที่มาของนามสกุล


แต่สมัยโบราณกาลนั้นไทยไม่ได้มีนามสกุลใช้  หากเรียกชื่อกันแล้วไม่รู้ว่าใครเป็นใครก็จะถามลูกใคร  หรือคนบ้านไหน  แค่นี้ก็รู้แล้ว  เพราะสมัยก่อนคนไม่ได้แออัด  ่จะอยู่เป็นกลุ่ม ๆ และมีชื่อกลุ่ม  ชื่อหมู่บ้าน  เรียกสั้น ๆ ว่าบ้าน   ( สมัยนี้คำว่า บ้าน หมายถึงบ้านหลังเดียวบ้านใครบ้านมัน )

ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ. 2455  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  6  โปรดเกล้าให้มีการใช้นามสกุลและตราพระราชบัญญัตินามสกุลมีผลบังคับใช้เมื่อ  ปี  2456  และได้พระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัว    นามสกุลแรกของไทยคือ  สุขุม

การตั้งนามสกุลความนิยม
  • นิยมตั้งนามสกุลตามชื่อหัวหน้าครอบครัว, 
  • ตั้งนามสกุลตามถิ่นที่อยู่อาศัย, 
  • ตั้งนามสกุลตามอาชีพที่ทำ,  
  • ตั้งนามสกุลตามธรรมชาติที่ตนชอบ  
  • ตั้งนามสกุลตามชื่อบรรพบุรุษที่ทำคุณความดีเอาไว้
  • ตั้งตามยศถาบรรดาศักดิ์ ตามราชทินนาม  เช่น  หลวงพิบูลสงคราม  เป็นนามสกุล พิบูลสงคราม

ในการจดนามสกุลหรือเปลี่ยนนามสกุล
ตามพระราชบัญญัติปี  พ.ศ. 2505  กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งนามสกุลไว้ว่า

  1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์  และพระนามของพระราชินี
  2. ต้องไม่มุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม  เว้นแต่ราชทินนามนั้นเป็นของตนหรือของบุพการีหรือผู้สืบสันดาน
  3. ต้องไม่ซ้ำกับนามสกุลพระราชทาน  หรือนามสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
  4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  5. นามสกุล ต้องมีไม่เกิน  10  พยัญชนะ  เว้นแต่ เป็นราชทินนาม
  6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลห้ามใช้คำว่า  ณ นำหน้าชื่อสกุล
  7. ห้ามเอานามพระมหานครและศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชือสกุล

--------------------------------------------




บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วันที่ผ่านมา