อาจารย์ต้น ตั้งชื่อดีทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ

อาจารย์ต้น ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อ ( พลังนวพล ธัมวรวัฒน์ ) แอดไลน์ด้วยคิวอาร์โค้ต หรือ ไอดีไลน์ ajanton999 / ชื่อสวย นามสกุลภูมิฐาน,ร่ำรวย, ชื่อลูก, ชื่อบริษัท, ร้าน,ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บ ได้รับชื่อเร็วไม่เกิน 45 ช.ม. รับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียง 26 ปี * ดูรีวิวความพึงพอใจได้ที่เมนู "หน้าแรก"

หยุดเป็นมนุษย์ 100 ชื่อ ตัววิ่ง

ดีครบทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ ดีครบทุกศาสตร์ยอดฮิต หยุดการเป็นมนุษย์ 100 ชื่อได้ที่นี่

ประสบการณ์ ตัววิ่ง

ได้รับชื่อเร็วทันใจ ประสบการณ์ 26 ปี เปิดเว็บนี้ปีที่ 16 เชื่อถือได้ 100 %

อาจารย์แบ่งค่าครูทำบุญเพื่อการกุศลอย่างจริงจัง อยากเชื้อเชิญให้เลื่อนลงสุด



เตรียมเอกสารไปเปลี่ยนชื่อ

การเปลี่ยนชื่อ , เปลี่ยนนามสกุล




เอกสารที่จะต้องนำไปให้ครบ

          ได้ชื่อดี นามสกุลดี ครบทุกศาสตร์แล้ว  จะต้องไปเปลี่ยนตามฤกษ์มงคลด้วย  และเอกสารจะต้องนำไปให้ครบ  มีรายละเอียดดังนี้  

Details
pink ทะเบียนชื่อบุคคล

การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง

          ตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บุคคลสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและจะมีชื่อรองด้วยก็ได้
                * ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
                * ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
                * ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง

          ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
          ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย  ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต  ผู้ได้รับหรือเคยได้รับ
          พระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็น ชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้

ขั้นตอน
    * ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
    * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
    * กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยน
      ชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน
    * กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อ
      ประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียน ท้องที่
      จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่า ธรรมเนียม 50 บาท
    * เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและ หลักฐานอื่น ๆ 
      ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

เอกสารประกอบการดำเนินการ

    1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
    3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

pink ทะเบียนชื่อสกุล

การขอจดทะเบียนชื่อสกุล


หลักเกณฑ์

    1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
    2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
    3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
    4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
    5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
    6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล
    7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล

เอกสารประกอบการดำเนินการ

    1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
    3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

ขั้นตอนการติดต่อ

    * ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
    * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว
      นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบ

หลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย

    * เมื่อนายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและ
      เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท 
    * เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และ 
      หลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

pink  ทะเบียนขอร่วมใช้ชื่อสกุล

การขอร่วมใช้ชื่อสกุล

เอกสารประกอบการดำเนินการ

    ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล)
    * สำเนาทะเบียนบ้าน
    * บัตรประจำตัวประชาชน
    * หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล(แบบ ช.2)

     
ขั้นตอนการติดต่อ

    * เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือ
      สำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
    * นายทะเบียนนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณา อนุญาตและออก
      หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของ ชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล

    ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล)

    * สำเนาทะเบียนบ้าน
    * บัตรประจำตัวประชาชน
    * หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล

    
ขั้นตอนการติดต่อ

    * ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือ อนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
    * นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือ สำคัญแสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
    * ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตร ประจำตัวประชาชน  ( ด้วยความปรารถนาดีจากอาจารย์ต้น )















บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วันที่ผ่านมา