หากรู้ไว้บ้างก็เป็นประโยชน์มิใช่น้อย อย่างเช่น ทะเบียนบ้านกลาง ก็ให้ประโยชน์มากในเรื่อง เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล โดยไม่ต้องกลับบ้านที่ต่างจังหวัด ให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก
ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท ?
หลักเกณฑ์
บ้าน หมายความว่า สิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง รวมถึง ยานพาหนะอื่น ๆ ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย รวมถึง เรือ, แพ ที่จอดเป็นประจำและใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยประจำด้วย
ทะเบียนบ้าน หมายความว่า เลขที่ประจำบ้าน ซึ่งแสดงเลขประจำบ้านและ รายการของคน ทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน แยกเป็นหลายลักษณะ คือ
* - ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ใช้กับคนที่มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญ ประจำตัวคนต่างด้าว
* - ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) ใช้ลงรายการของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองและอยู่อาศัยเพียงชั่วคราว โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ชอบด้วยกฏหมายก็ตาม
* - ทะเบียนบ้านกลาง จะว่าไปแล้วก็มิใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น สำหรับบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน
* - ทะเบียนบ้านชั่วคราว คือเล่ขที่บ้าน ที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุก ป่าสงวน หรือโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นเอกสารราชการใช้ได้ เหมือนทะเบียนบ้านปกติ
* - ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน เป็นทะเบียนบ้านที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้ ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทาง ไปต่างประเทศ ให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขประจำบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอ เลขประจำบ้านภายในสิบห้าวันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. หนังสือขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือผู้ได้รับมอบหมาย
4. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวผู้แจ้งหรือผู้ได้รับมอบหมาย
4. หนังสือมอบหมาย (ถ้ามี)
ขั้นตอนการติดต่อ
1. เมื่อสร้างบ้านเสร็จแล้วไปติดต่อ ณ สำนักทะเบียน ที่ได้ปลูกสร้างบ้าน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานถูกต้องแล้ว จะจัดทำหลักฐานทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
3. มอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้ง
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานถูกต้องแล้ว จะจัดทำหลักฐานทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
3. มอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้ง
เจ้าบ้านและการมอบหมาย
หลักเกณฑ์
เจ้าบ้าน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะ อื่นใดก็ตาม ในกรณีที่ไม่ปรากฏเจ้าบ้าน หรือเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติ กิจการได้ ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเป็นเจ้าบ้าน
หน้าที่ของเจ้าบ้าน
เจ้าบ้าน เป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน โดยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ หากเจ้าบ้านไม่อยู่ เช่น ไปต่างประเทศ หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ ผู้มี ชื่อในทะเบียนบ้านผู้หนึ่งผู้ใดสามารถ ดำเนินการแจ้งโดยทำหน้าที่เจ้าบ้านได้ โดยนายทะเบียนบ้านจะบันทึก
ถ้อยคำ ให้ได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลดังกล่าวเป็น ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้านในขณะนั้น
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านระบุรายละเอียดชัดเจนว่ามอบให้ใครทำอะไร และลงชื่อผู้มอบ
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบหมาย หรือผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน
ขั้นตอนการติดต่อ
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และดำเนินการตามความประสงค์ของผู้แจ้ง
3. คืนหลักฐานแก่ผู้แจ้ง