อาจารย์ต้น ตั้งชื่อดีทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ

อาจารย์ต้น ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อ ( พลังนวพล ธัมวรวัฒน์ ) แอดไลน์ด้วยคิวอาร์โค้ต หรือ ไอดีไลน์ ajanton999 / ชื่อสวย นามสกุลภูมิฐาน,ร่ำรวย, ชื่อลูก, ชื่อบริษัท, ร้าน,ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บ ได้รับชื่อเร็วไม่เกิน 45 ช.ม. รับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียง 26 ปี * ดูรีวิวความพึงพอใจได้ที่เมนู "หน้าแรก"

หยุดเป็นมนุษย์ 100 ชื่อ ตัววิ่ง

ดีครบทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ ดีครบทุกศาสตร์ยอดฮิต หยุดการเป็นมนุษย์ 100 ชื่อได้ที่นี่

ประสบการณ์ ตัววิ่ง

ได้รับชื่อเร็วทันใจ ประสบการณ์ 26 ปี เปิดเว็บนี้ปีที่ 16 เชื่อถือได้ 100 %

อาจารย์แบ่งค่าครูทำบุญเพื่อการกุศลอย่างจริงจัง อยากเชื้อเชิญให้เลื่อนลงสุด



ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด



ต้องการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล

แต่ทะเบียนบ้านอยู่ต่างจังหวัด  


ถ้าคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมาจากภูมิลำเนาเพื่อการประกอบอาชีพ  การเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลก็ต้องกลับไปที่ภูมิลำเนาจึงจะเปลี่ยนได้  ทีนี้งานก็ต้องทำจะลางานก็ยาก  อาจารย์ก็มีคำแนะนำว่ามีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้  ดังนี้

แจ้งย้ายปลายทางคืออะไร ?


          การแจ้งย้ายปลายทาง  คือ  ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจังหวัดหนึ่ง  แต่ตัวตนอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง  โดยปกติถ้าจะย้ายชื่อก็ต้องไปที่จังหวัดที่ทะเบียนบ้านอยู่  ต้องเดินทางเสียเงินเดินทางเสียเวลา   เดี๋ยวนี้ไม่ต้องเดินทางแล้ว  อยู่ที่ไหนก็ไปยื่นเรื่องย้ายได้เลย  เรียกว่า  ย้ายชื่อปลายทาง


การย้ายชื่อปลายทางมีประโยชน์อย่างไร ?


มีประโยชน์หลายอย่างแล้วแต่จุดประสงค์  แต่ในที่นี้ประโยชน์เรื่องการเปลี่ยนชื่อ  หรือเปลี่ยนนามสกุล  โดยไม่ต้องเดินทางกลับต่างจังหวัด


ต้องทำอย่างไร ?


ก่อนอื่นคุณต้องมีที่หมาย  ที่จะย้ายชื่อมาเข้าบ้านใครสักคน  แต่หากไม่มีใครเลยที่ให้พึ่งพาได้  ก็ย้ายมาพักไว้ที่ส่วนกลาง ณ เขตนั้น,อำเภอนั้น   เขาจะมีทะเบียนบ้านกลางสำหรับคนที่ย้ายมาแล้วยังไม่มีที่จะเอาชื่อเข้า  เขาก็จะให้ย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลาง  ทีนี่้เราก็มีชื่ออยู่ที่นี่แล้วก็ทำการเปลี่ยนชื่อได้แล้ว  แต่ให้ติดต่อสอบถามไปยังเขตนั้น/อำเภอนั้น ก่อนเพราะบางที่อาจจะยังไม่ทันสมัยพอ

มีรายละเอียดดังนี้ 


การแจ้งบุคคลย้ายปลายทาง
สถานที่ติดต่อ

สำนักทะเบียนอำเภอ
สำนักทะเบียนท้องถิ่น

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

๑) สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า  (ถ้าไม่มีเป้าหมายบ้านที่จะย้ายเข้าก็บอกเขตว่าขอย้ายเข้าทะเบียนบ้านกลางของเขต / ของอำเภอนี้ก่อนเป็นการชั่วคราว )
๒) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย หรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่นพร้อมสำเนาบัตรที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้
๓) เจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่  
๔) บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
๕) หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าของบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่(กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปดำเนินการแจ้งย้ายได้)
๖) หนังสือมอบหมายแจ้งย้ายที่อยู่ บัตรฯ พร้อมด้วยสำเนาบัตรฯ ที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบ และผู้รับมอบ (กรณีผู้แจ้งย้ายที่อยู่มอบผู้อื่นมาดำเนินการแทน ผู้รับมอบหมาย ๑ คน ควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์จะแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้ไม่เกิน ๓ คน และทั้ง ๒ ฝ่าย ควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์)

          ทั้งนี้ทั้งนั้นควรสอบถามที่อำเภอให้ละเอียดอีกครั้ง






บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วันที่ผ่านมา