อาจารย์ต้น ตั้งชื่อดีทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ

อาจารย์ต้น ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อ ( พลังนวพล ธัมวรวัฒน์ ) แอดไลน์ด้วยคิวอาร์โค้ต หรือ ไอดีไลน์ ajanton999 / ชื่อสวย นามสกุลภูมิฐาน,ร่ำรวย, ชื่อลูก, ชื่อบริษัท, ร้าน,ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บ ได้รับชื่อเร็วไม่เกิน 45 ช.ม. รับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียง 26 ปี * ดูรีวิวความพึงพอใจได้ที่เมนู "หน้าแรก"

หยุดเป็นมนุษย์ 100 ชื่อ ตัววิ่ง

ดีครบทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ ดีครบทุกศาสตร์ยอดฮิต หยุดการเป็นมนุษย์ 100 ชื่อได้ที่นี่

ประสบการณ์ ตัววิ่ง

ได้รับชื่อเร็วทันใจ ประสบการณ์ 26 ปี เปิดเว็บนี้ปีที่ 16 เชื่อถือได้ 100 %

อาจารย์แบ่งค่าครูทำบุญเพื่อการกุศลอย่างจริงจัง อยากเชื้อเชิญให้เลื่อนลงสุด



กฏหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อ

ไทยมีกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องชื่อ นามสกุล  

อ่านไว้ประดับความรู้




          ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ  เปลี่ยนนามสกุล  ต้องนำเอกสารไปด้วยให้ครบ  และคนที่ไม่ค่อยได้ติดต่อราชการก็จะมีคำถามหลายอย่าง  เช่น ต้องไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่หรือเปล่า , ต้องเอาเอกสารอะไรไปบ้าง , ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร , เปลี่ยนนามสกุลแล้วจะต้องทำบัตรประชาชนเลยหรือเปล่า   วันนี้จะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ



พระราชบัญญัติชื่อบุคคล  


มาตรา ๔

ชื่อตัว    หมายความว่า  ชื่อประจำตัวบุคคล
ชื่อรอง  หมายความว่า   ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว 
ชื่อสกุล  หมายความว่า  ชื่อประจำวงศ์สกุล


มาตรา ๕
คนไทยจะมีชื่อรองก็ได้


มาตร ๖
ชื่อตัว  ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย  พระนามของพระราชินี  หรือราชทินนาม  และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย

ชื่อสกุล

คู่สมรสอาจใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรองได้  เมื่อได้รับความยินยอมของฝ่ายนั้นแล้ว


มาตรา ๘

         ชื่อสกุลต้อง...
  • ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี
  • ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม  เว้นแต่ราชทินนามของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน
  • ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์  หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
  • ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  • มีพยัญชนะไม่เกินกว่าสิบพยัญชนะ  เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
  • ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล  ให้ยื่นคำขอด้วยการทะเบียนราษฎร   เมื่อนายทะเบียนท้องที่พิจารณาเห็นว่าชื่อสกุลที่ขอตั้งนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้  ก็ให้เสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง  เมื่อได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนกลางแล้ว   ให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น
  • การใช้ชื่อสกุลร่วม   ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล  จะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยร่วมใช้ชื่อสกุลของตนได้  โดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่  ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน   การอนุญาตนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้ออกหนังสือสำคัญให้


มาตรา  ๑๒  (๕)   
คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน  หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน   การตกลงกันจะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้  หรือจะตกลงเปลี่ยนแปลงภายหลังก็ได้


มาตร  ๑๓ (๖)
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า  หรือศาลพิพาษาให้เพิกถอนการสมรถ  ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย  ให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลนั้นได้ต่อไป  แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน


มาตรา  ๑๖
เมื่อประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อรอง  ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่  ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าไม่ขัดต่อพรบ.นี้ก็ออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้


มาตรา  ๑๗
ผู้มีชื่อสกุลอยู่แล้วประสงค์จะขอตั้งชื่อสกุลใหม่  ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน


มาตรา  ๑๘
ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจะทะเบียนชื่อ  ชื่อสกุล  ผู้ขอจดทะเบียนชื่อ  ชื่อสกุล  มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน  นับแต่วันทราบคำสั่ง


อัตราค่าธรรมเนียม

--------------------------------------

(๑)  การออกหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง   ฉบับละ  ๑๐๐  บาท
(๒)  การออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล       ฉบับละ  ๒๐๐  บาาท
(๓)  การออกหนังสือสำคัญการรับจดทะเบียนเปลี่ยนนามสกุล

       (ก)   การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุสมรส
  • การเปลี่ยนครั้งแรก  ภายหลังการจดทะเบียนสมรสหรือเปลี่ยนเพราะการสมรสสิ้นสุดลง  ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • การเปลี่ยนครั้งต่อ ๆ ไป    จะเสียค่าธรรมเนียม  ฉบับละ   ๑๐๐  บาท
   
        (ข)  การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุอื่น    ฉบับละ   ๒๐๐  บาท

(๔)  การออกใบแทน  หนังสือสำคัญตาม (๑) (๒) หรือ (๓)   ฉบับละ   ๕๐  บาท     


เอกสารที่ต้องนำไปด้วย  คลิกดูที่นี่ 


                           

ขั้นตอนในการติดต่อ


  1. แจ้งความจำนงต่อเจ้าหน้าที่  เพื่อรับ  ใบคำขอ มากรอกรายละเอียดข้อมูลของตน
  2. ยื่น ใบคำขอ เปลี่ยนชื่อ  หรือ   เปลี่ยนนามสกุล  ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการ
  3. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบใบคำขอกับทะเบียนบ้านบัตรประชาชน , และตรวจชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
  4. เมื่อตรวจสอบแล้วผ่าน  นายทะเบียนก็จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
  5. กรณีเป็นคนต่างด้าว  นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อของคนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฏระเบียบขั้นตอน
  6. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว  ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านปัจจุบันเจ้าหน้าที่จะทำให้จนเสร็จในจุดเดียวเลย  และเชียนคำขอทำบัตรประชาชนใหม่


....................................................................

บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วันที่ผ่านมา