อาจารย์ต้น ตั้งชื่อดีทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ

อาจารย์ต้น ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อ ( พลังนวพล ธัมวรวัฒน์ ) แอดไลน์ด้วยคิวอาร์โค้ต หรือ ไอดีไลน์ ajanton999 / ชื่อสวย นามสกุลภูมิฐาน,ร่ำรวย, ชื่อลูก, ชื่อบริษัท, ร้าน,ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บ ได้รับชื่อเร็วไม่เกิน 45 ช.ม. รับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียง 26 ปี * ดูรีวิวความพึงพอใจได้ที่เมนู "หน้าแรก"

หยุดเป็นมนุษย์ 100 ชื่อ ตัววิ่ง

ดีครบทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ ดีครบทุกศาสตร์ยอดฮิต หยุดการเป็นมนุษย์ 100 ชื่อได้ที่นี่

ประสบการณ์ ตัววิ่ง

ได้รับชื่อเร็วทันใจ ประสบการณ์ 26 ปี เปิดเว็บนี้ปีที่ 16 เชื่อถือได้ 100 %

อาจารย์แบ่งค่าครูทำบุญเพื่อการกุศลอย่างจริงจัง อยากเชื้อเชิญให้เลื่อนลงสุด



จะเปลี่ยนชื่อแต่ทะเบียนบ้านอยู่ ต.จ.ว.

จะเปลี่ยนชื่อแต่ทะเบียนบ้านอยู่จังหวัดจะทำไง

         
แนะนำ การเปลี่ยนชื่อ , เปลี่ยนนามสกุล  เมื่ออยู่ต่างถิ่น

ก่อนอื่นขอให้คำแนะนำ  คนที่อยู่ต่างที่ต่างถิ่นซึ่งทะเบียนบ้านอยู่ที่หนึ่ง  แต่ตัวอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง   

สมมุติว่าทำงานที่กรุงเทพ ฯ  แต่ทะเบียนบ้านอยู่เชียงใหม่    และไม่สะดวกกลับไปเปลี่ยนชื่อที่

เชียงใหม่   


          แนะนำให้ไปที่เขต/อำเภอ ที่สะดวกที่มีระบบออนไลน์   เพื่อแจ้งย้ายชื่อมา  เรียกว่าแจ้งย้ายชื่อจาก
ปลายทาง  จากนั้นแจ้งเข้าทะเบียนบ้านของญาติหรือเพื่อน  เท่านี้ก็เปลี่ยนชื่อได้แล้วโดยไม่ต้องกลับ
จังหวัดบ้านเกิด

          ขอยกตัวอย่าง  สมมุติคุณทำงานที่กรุงเทพฯ  และมีญาติหรือมีเพื่อนที่อนุญาตให้ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน
ของเขา  สมมุติว่าญาติหรือเพื่อนคนนั้นอยู่ที่เขตพญาไท   คุณก็ไปที่ว่าการเขตพญาไทแจ้งจุดประสงค์ว่า
ขอย้ายชื่อจากเชียงใหม่มาที่บ้านเลขที่นี้ซึ่งอยู่ในเขตพญาไทย  เมื่อย้ายชือมาได้แล้วเจ้าหน้าที่ก็จะบันทึก
ในเล่มทะเบียนบ้าน  เป็นอันเสร็จเสียค่าธรรมเนียมนิดหน่อย   ซึ่งคุณต้องนำเล่มทะเบียนบ้านตัวจริงไปนะ

          เมื่อเสร็จเรื่องย้ายชื่อมาแล้วใช้เวลาไม่นาน  เดี๋ยวนี้บริการในจุดเดียวจบ   ก็ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนชื่อเลย
เป็นอันเสร็จ หลังจากนั้นเมื่อคุณกลับเชียงใหม่เมื่อไรก็ไปแจ้งย้ายกลับไปที่เดิมเท่านั้นเอง

  • การเปลี่ยนชื่อตัว   ใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงและบัตรประชาชน  มีค่าธรรมเนียมเปลี่ยนชื่อ  50  บาท
  • การเปลี่ยนชื่อสกุล  ใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงและบัตรประชาชน  มีค่าธรรมเนียม  100  บาท


รายละเอียดเพิ่มเติม 



การเปลี่ยนชื่อ  ขั้นตอน
    * ผู้ยื่นคำขอเปลี่ยนชื่อตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ในเขตที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
    * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
    * กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย  นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยน
      ชื่อ
ตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน
    * กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อ
      ประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียน ท้องที่
      จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่า ธรรมเนียม 50 บาท
    * เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว  เจ้าหน้าที่จะแก้ไขรายการชื่อในในทะเบียนบ้านและให้ทำบัตรประชาชนใหม่ 

หมายเหตุ : หลังจากเปลี่ยนชื่อแล้ว  ให้ทะยอยเปลี่ยนเอกสารต่าง ๆ ให้ตรงกับชื่อใหม่  แนะนำให้ถ่ายเอกสารใบ
เปลี่ยนชื่อแล้วพกไว้เสมอในช่วงแรก ๆ เผื่อมีบางรายการที่ลืมยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อ  จะได้แก้ไขให้ถูกต้องได้ ไม่เสียเวลา
ย้อนกลับมาเอาเอกสาร



pink การเปลี่ยนนามสกุล

หลักเกณฑ์

    1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
    2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
    3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
    4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
    5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
    6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล
    7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล

เอกสารประกอบการดำเนินการเปลี่ยนนามสกุล


    1. สำเนาทะเบียนบ้านตัวจริง
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
    3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

ขั้นตอนการติดต่อ

    * ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
    * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว
      นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบ
หลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
    * เมื่อนายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและ
      เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
    * เมื่อได้รับใบสำคัญเปลี่ยนนามสกุลแล้ว  เจ้าหน้าที่จะแก้ไขรายการนามสกุลในทะเบียนบ้านและให้ทำบัตร
ประจำตัวประชาชนใหม่



pink  ทะเบียนขอร่วมใช้ชื่อสกุล 
หมายถึงเราขอร่วมใช้นามสกุลกับคนอื่น  ต้องให้เจ้าของนามสกุลยินยอมเป็นเอกสารดังต่อไปนี้


เอกสารประกอบการดำเนินการ
ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเเบียนชื่อสกุล)
    * สำเนาทะเบียนบ้าน
    * บัตรประจำตัวประชาชน
    * หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล(แบบ ช.2)
   

ขั้นตอนการติดต่อ


    * เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อม
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
    * นายทะเบียนนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณา อนุญาตและ
ออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของ ชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอ
ร่วมใช้ชื่อสกุล


ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุล)

    * สำเนาทะเบียนบ้าน
    * บัตรประจำตัวประชาชน
    * หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล


ขั้นตอนการติดต่อ

    * ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือ
อนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
    * นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือสำคัญ
แสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
    * ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตร
ประจำตัวประชาชน






บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วันที่ผ่านมา