อาจารย์ต้น ตั้งชื่อดีทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ

อาจารย์ต้น ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อ ( พลังนวพล ธัมวรวัฒน์ ) แอดไลน์ด้วยคิวอาร์โค้ต หรือ ไอดีไลน์ ajanton999 / ชื่อสวย นามสกุลภูมิฐาน,ร่ำรวย, ชื่อลูก, ชื่อบริษัท, ร้าน,ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บ ได้รับชื่อเร็วไม่เกิน 45 ช.ม. รับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียง 26 ปี * ดูรีวิวความพึงพอใจได้ที่เมนู "หน้าแรก"

หยุดเป็นมนุษย์ 100 ชื่อ ตัววิ่ง

ดีครบทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ ดีครบทุกศาสตร์ยอดฮิต หยุดการเป็นมนุษย์ 100 ชื่อได้ที่นี่

ประสบการณ์ ตัววิ่ง

ได้รับชื่อเร็วทันใจ ประสบการณ์ 26 ปี เปิดเว็บนี้ปีที่ 16 เชื่อถือได้ 100 %

อาจารย์แบ่งค่าครูทำบุญเพื่อการกุศลอย่างจริงจัง อยากเชื้อเชิญให้เลื่อนลงสุด



เอกสารที่ต้องใช้ เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล

ติดต่อราชการ  เตรียมเอกสารไปให้ครบ  

ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ  เปลี่ยนนามสกุล  ต้องนำเอกสารไปด้วยให้ครบ  และคนที่ไม่ค่อยได้ติดต่อราชการก็จะมีคำถามหลายอย่าง  เช่น ต้องไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่หรือเปล่า , ต้องเอาเอกสารอะไรไปบ้าง , ต้องเสียค่าธรรมเนียมเท่าไร , เปลี่ยนนามสกุลแล้วจะต้องทำบัตรประชาชนเลยหรือเปล่า   วันนี้จะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ


พระราชบัญญัติชื่อบุคคล  


มาตรา ๔
ชื่อตัว    หมายความว่า  ชื่อประจำตัวบุคคล
ชื่อรอง  หมายความว่า   ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว 
ชื่อสกุล  หมายความว่า  ชื่อประจำวงศ์สกุล

มาตรา ๕
คนไทยจะมีชื่อรองก็ได้

มาตร ๖
ชื่อตัว  ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย  พระนามของพระราชินี  หรือราชทินนาม  และต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย

ชื่อสกุล

คู่สมรสอาจใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรองได้  เมื่อได้รับความยินยอมของฝ่ายนั้นแล้ว

มาตรา ๘
                      ชื่อสกุลต้อง...
  • ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี
  • ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม  เว้นแต่ราชทินนามของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน
  • ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์  หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
  • ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  • มีพยัญชนะไม่เกินกว่าสิบพยัญชนะ  เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
  • ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล  ให้ยื่นคำขอด้วยการทะเบียนราษฎร   เมื่อนายทะเบียนท้องที่พิจารณาเห็นว่าชื่อสกุลที่ขอตั้งนั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญัตินี้  ก็ให้เสนอต่อไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง  เมื่อได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนกลางแล้ว   ให้นายทะเบียนท้องที่รับจดทะเบียนชื่อสกุลนั้น
  • การใช้ชื่อสกุลร่วม   ผู้จดทะเบียนตั้งชื่อสกุล  จะอนุญาตให้ผู้มีสัญชาติไทยร่วมใช้ชื่อสกุลของตนได้  โดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่  ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน   การอนุญาตนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อนายทะเบียนท้องที่ได้ออกหนังสือสำคัญให้

มาตรา  ๑๒  (๕)   
คู่สมรสมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน  หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตน   การตกลงกันจะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้  หรือจะตกลงเปลี่ยนแปลงภายหลังก็ได้

มาตร  ๑๓ (๖)
เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า  หรือศาลพิพาษาให้เพิกถอนการสมรถ  ให้ฝ่ายซึ่งใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย  ให้ฝ่ายซึ่งยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลนั้นได้ต่อไป  แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

มาตรา  ๑๖
เมื่อประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อรอง  ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่  ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน  เมื่อนายทะเบียนเห็นว่าไม่ขัดต่อพรบ.นี้ก็ออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้

มาตรา  ๑๗
ผู้มีชื่อสกุลอยู่แล้วประสงค์จะขอตั้งชื่อสกุลใหม่  ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ในท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

มาตรา  ๑๘
ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจะทะเบียนชื่อ  ชื่อสกุล  ผู้ขอจดทะเบียนชื่อ  ชื่อสกุล  มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวัน  นับแต่วันทราบคำสั่ง


อัตราค่าธรรมเนียม

--------------------------------------

(๑)  การออกหนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรอง   ฉบับละ  ๑๐๐  บาท
(๒)  การออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล       ฉบับละ  ๒๐๐  บาาท
(๓)  การออกหนังสือสำคัญการรับจดทะเบียนเปลี่ยนนามสกุล

       (ก)   การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุสมรส
  • การเปลี่ยนครั้งแรก  ภายหลังการจดทะเบียนสมรสหรือเปลี่ยนเพราะการสมรสสิ้นสุดลง  ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
  • การเปลี่ยนครั้งต่อ ๆ ไป    จะเสียค่าธรรมเนียม  ฉบับละ   ๑๐๐  บาท
   
        (ข)  การเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเหตุอื่น    ฉบับละ   ๒๐๐  บาท

(๔)  การออกใบแทน  หนังสือสำคัญตาม (๑) (๒) หรือ (๓)   ฉบับละ   ๕๐  บาท     


เอกสารที่ต้องนำไปด้วย    

-----------------------------------

การเปลี่ยนชื่อ  เปลี่ยนนามสกุล   เอกสารสำคัญ  ที่ต้องนำไปด้วยคือ

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน  (ตัวจริง)
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • กรณีเป็นคนต่างด้าว  นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวไปด้วย                                   

ขั้นตอนในการติดต่อ


  1. แจ้งความจำนงต่อเจ้าหน้าที่  เพื่อรับ  ใบคำขอ มากรอกรายละเอียดข้อมูลของตน
  2. ยื่น ใบคำขอ เปลี่ยนชื่อ  หรือ   เปลี่ยนนามสกุล  ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการ
  3. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบใบคำขอกับทะเบียนบ้านบัตรประชาชน , และตรวจชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
  4. เมื่อตรวจสอบแล้วผ่าน  นายทะเบียนก็จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
  5. กรณีเป็นคนต่างด้าว  นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อของคนต่างด้าวให้เป็นไปตามกฏระเบียบขั้นตอน
  6. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว  ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านปัจจุบันเจ้าหน้าที่จะทำให้จนเสร็จในจุดเดียวเลย  และเชียนคำขอทำบัตรประชาชนใหม่.

ขอให้การติดต่อสะดวกราบรื่นทุกอย่างนะครับ






บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วันที่ผ่านมา