อาจารย์ต้น ตั้งชื่อดีทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ

อาจารย์ต้น ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อ ( พลังนวพล ธัมวรวัฒน์ ) แอดไลน์ด้วยคิวอาร์โค้ต หรือ ไอดีไลน์ ajanton999 / ชื่อสวย นามสกุลภูมิฐาน,ร่ำรวย, ชื่อลูก, ชื่อบริษัท, ร้าน,ชื่อแบรนด์, ชื่อเว็บ ได้รับชื่อเร็วไม่เกิน 45 ช.ม. รับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียง 26 ปี * ดูรีวิวความพึงพอใจได้ที่เมนู "หน้าแรก"

หยุดเป็นมนุษย์ 100 ชื่อ ตัววิ่ง

ดีครบทุกศาสตร์หลักของการตั้งชื่อ ดีครบทุกศาสตร์ยอดฮิต หยุดการเป็นมนุษย์ 100 ชื่อได้ที่นี่

ประสบการณ์ ตัววิ่ง

ได้รับชื่อเร็วทันใจ ประสบการณ์ 26 ปี เปิดเว็บนี้ปีที่ 16 เชื่อถือได้ 100 %

อาจารย์แบ่งค่าครูทำบุญเพื่อการกุศลอย่างจริงจัง อยากเชื้อเชิญให้เลื่อนลงสุด



วิธีรับมือกับภัยพิบัติ หลังได้บทเรียนจากแผ่นดินไหวที่เนปาล

ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เป็นสิ่งที่ไม่อาจรู้ล่วงหน้าได้ หรือถ้ารู้ได้ก็จะรู้ล่วงหน้าไม่มาก  ณ เวลานั้นก็ต้องใช้ไหวพริบเฉพาะตัวล้วน ๆ ว่าจะทำอย่างไร

ภัยธรรมชาติหลัก ๆ ก็ได้แก่  แผ่นดินไหว , พายุ , น้ำหลาก , ไฟป่า , ดินถล่ม  คนที่จะเอาตัวตัวรอดได้ดีก็คือคนที่สนใจ  ได้อ่านเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นที่เขาประสบมา  ได้อ่านคำแนะนำต่าง ๆ จนจำได้บ้าง  เมื่อประสบเหตุกับตัวก็จะเอาตัวรอดได้ดี

หลักจากเหตุการณ์สงบแล้วเกิดความเสียหายเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง  คนที่เตรียมตัวไว้ล่วงหน้าก็จะไม่เดือนร้อนมากนัก  ต่างจากคนที่ไม่ได้เตรียมอะไรเลยก็จะเดือดร้อนหนัก  ต้องรอจนกว่าความช่วยเหลือจากคนอื่นจะเข้ามาถึง  แต่หากได้เตรียมตัวไว้เตรียมการไว้เตรียมสิงของไว้ระหว่างรอการช่วยเหลือก็ยังไม่ลำบากมาก   ดังนั้นเราจะมาพูดถึงเรื่องสิ่งของที่เราต้องเตรียมไว้เพื่อความไม่ประมาท  แม้ผู้เขียนก็ต้องเตรียมเหมือนกัน  แม้จะดูว่ามันไกลตัวมากก็ตาม  ดังนั้นคุณก็เช่นกันถึงแม้จะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวก็ควรเตรียมไว้บ้าง  มาถึงเรื่องนี้อาจารย์ต้นก็ขอเว้นว่างเรื่องตั้งชื่อ เปลี่ยนนามสกุล พักไว้ก่อน

แผ่นดินไหว

เตรียมตัวเตรียมการก่อนเกิดเหตุหากท่านอยู่ในเขตแผ่นดินไหวบ่อย  ต้องเตรียมข้าวของภายในบ้านให้มั่นคงแข็งแรง เช่น  ตู้ให้ยึดติดกับผนังให้แน่นกันไม่ให้ล้มทับคน , อย่าวางของหนัก ๆ ซ้อนกันสูง ๆ มันจะโค่นล้มมาทับได้  

ขณะเกิดแผ่นดินไหว
  • หากอยู่บนอาคารสูง ให้อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรงหน่อย    อย่าลงบันไดเพราะมันอาจจะหักพังลงมา , อย่าลงลิฟท์เพราะอาจติดค้างหรือตึกทรุดทำให้ลิฟท์ค้าง  เมื่อสงบแล้วค่อยรีบลงมา  แล้วรีบออกนอกอาคารมาอยู่กลางแจ้ง  อยู่ห่างจากอาคารสูงด้วยเพราะถ้าตึกสูงโค่นล้มจะได้ปลอดภัย , อย่าอยู่ใกล้เสาไฟฟ้า , หรือกำแพง  สรุปก็คือ  อยู่ที่โล่ง ๆ แบบสนามฟุตบอล
  • ถ้าขับรถอยู่ให้หยุดรถแล้วอยู่ภายในรถก่อน

หลังเกิดแผ่นดินไหว

  • ให้ยกสะพานไฟลง  (สับคัตเอ๊าท์ลง)  เป็นอันดับแรก  เพื่อป้องกันไฟช็อต
  • ถ้ามีคนเจ็บก็นำส่งแพทย์

แผ่นดินถล่ม

เป็นเรื่องที่คาดการณ์ยากแต่ก็ยังมีวิธีสังเกต  คือ  ดูน้ำในลำห้วยที่ขุ่นมากขึ้น  มีตะกอนไหลหลากมา , หากมีฝนตกต่อเนื่องหลายวันจะทำให้ดินชุ่มน้ำแล้วหลุดทลายลงมาได้  หากมีบ้านอยู่เชิงเขาต้องระวัง , หากฝนตกหลายวันแล้วมีเสียงเหมือนต้นไม้ล้ม  หรือเสียงน้ำเสียงแปลก ๆ ให้รีบหนีก่อน  และบอกต่อ ๆกันไป  ให้ขึ้นอยู่ที่สูง , ถ้าพลัดตกน้ำให้หาต้นไม้เกาะแล้วปีนขึ้นต้นไม้ใหญ่

วิธีป้องกัน

อย่าปลูกบ้านขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากนัก
ต้นไม้จะเป็นตัวชะลอแรงน้ำได้  ซับน้ำไว้ได้  ต้องช่วยกันปลูกต้นไม้ที่มีรากแก้วหยั่งลึก
ถ้าอยู่ในแถบเสี่ยงดินถล่ม  ต้องจัดเวรยามดูความผิดปกติแล้วเตือนภัย  ในช่วงฤดูฝน
ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศเสมอ

พายุ

ประเมินสิ่งแวดล้อมของบ้านและสถานที่ใกล้เคียง

  • บ้าน  แน่นหนาแข็งแรงพอมั้ย  ถ้าเกิดพายุจะอยู่ตรงจุดไหนที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด  
  • สัตว์เลี้ยง  จะให้อยู่ที่ไหน  จะดูแลยังไงได้บ้าง
  • หากคิดว่าบ้านไม่แข็งแรงพอ  ให้มองสถานที่ใกล้เคียงว่ามีที่ไหนบ้าง เช่น โรงเรียน , สถานเลี้ยงเด็ก , โรงพยาบาล  เล็งไว้หากเห็นว่าพายุจะมีแรงจะได้ไปอยู่ในสถานที่นั้น
  • อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ยังชีพไว้ด้วย  เดี๋ยวจะบอกว่ามีอะไรบ้าง
  • อย่าลืมหาทางหนีทีไล่ให้แก่  คนชรา, คนป่วยหนัก, คนพิการ  ว่าถ้าเกิดเหตุจะช่วยอย่างไร  ถ้าในบ้านเราไม่มี  แต่เพื่อนบ้านมีก็ช่วยเตือนเพื่อนบ้านไว้บ้าง 

พายุกำลังเกิดขึ้น  ควรทำอย่างไร

  • สับคัตเอ้าท์ไฟฟ้าลง  ดับเตาแก๊ส  ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกอย่าง  ป้องกันไฟฟ้าช็อต  
  • ให้เข้าอยู่ในอาคารและเลือกที่จะอยู่ชั้นล่างชั้นที่ 1 จะปลอดภัยกว่าชั้นสูง ๆ  อย่าอยู่ที่โล่งอาจเกิดฟ้าผ่า  
  • ให้อยู่ห่างสิ่งเหล่านี้   ถ้ากำลังขับขี่รถ  ให้จอดและดูให้ห่างจากต้นไม้,เสาไฟฟ้า,ป้ายโฆษณาใหญ่ ๆ ,เสาไฟฟ้าแรงสูง,สะพานลอย  คอยฟังข่าวสารจากทางการ  อย่าเชื่อข่าวที่มาแบบปากต่อปาก

พายุสงบแล้ว  ต้องทำอย่างไร

  • ถ้ามีคนเจ็บให้ช่วยกันส่งโรงพยาบาล  หากมีเหตุฉุกเฉินให้นึกถึง เบอร์ 191
  • ถ้าอาคารเสียหาย  อย่าเพิ่งเข้าไปภายในจนกว่าทางการจะตรวจสอบและประกาศให้เข้าได้
  • ข้อนี้สำคัญมาก  ถ้าได้กลิ่นแก๊ส  อย่าจุดไฟแช็ค,อย่าจุดเทียน  ให้เปิดหน้าต่างประตูระบายอากาศแล้วออกนอกอาคารบ้านเรือนไปก่อน  ระบายแก๊สหมดกลิ่นแล้วค่อยเข้ามา
  • ถ้าไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง  ไม่รู้ว่าเมื่อไรไฟฟ้าจะใช้ได้  เพื่อเก็บความเย็นในตู้เย็นให้นานที่สุดอาหารจะได้ไม่เสีย  วิธีก็คืออย่าเปิดตู้เย็นบ่อย  ความเย็นก็จะอยู่ทน 2 - 3 วัน   


สิ่งที่ต้องเตรียม  เพื่อรับมือกับภัยพิบัติ

น้ำดื่ม   เก็บน้ำดิ่มไว้ในถังหรือขวดพลาสติกให้เพียงพอต่อทุกคนในครอบครัว  โดยคำนวณอย่างน้อย 4 ลิตรต่อคน  คือสำหรับดื่มด้วยใช้ล้างหน้าล้างตาด้วย  มีกี่คนก็คูณจำนวน 4 ลิตร   

อาหาร   ควรเตรียม

  • อาหารกระป๋อง  อาหารแห้ง  แบบที่เปิดปุ๊บทานได้เลย  ประเภทเนื้อสัตว์, ผัก, ผลไม้อย่าลืมอุปกรณ์เปิดกระป๋องด้วย  
  • แอลกอฮอลล์สำหรับอุ่นอาหารเตรียมไว้บ้าง  เผื่อจะอุ่นอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ  
  • เตรียมขนมกรุบกรอบที่ให้พลังงานสูงแก้หิว  ขนมที่มีส่วนผสมช็อคโกแล็ตหรือน้ำตาลหวาน ๆ คุ๊กกี้ , บะหมี่ซอง ที่ฉีกซองใส่น้ำร้อนทานได้เลย , ธัญพืชอบที่ทานได้เลย  
  • ใส่เป้ไว้หยิบฉวยได้ง่าย 
  • ต้องดูทุก 10-12  เดือนเผื่ออาหารหมดอายุ  และเปลี่ยนปีละครั้งเพื่อให้ใหม่

เตรียมชุดปฐมพยาบาล

  • อุปกรณ์ทำแผลสด เช่น  พลาสเตอร์  ผ้ากีอต  แอลกอฮอลล์  ยาเหลือง  ยาแดง                       ครีมเพนนิซเซอรีนหลอด  ผ้าพันแผลม้วนใหญ่
  • กรรไกร  กระดาษทำความสะอาดแบบเปียกที่เป็นห่อใหญ่ ๆ  (ที่เรียกติดปากว่าผ้าเย็น)
  • ถุงมือยาง, เข็มกลัด, ยาแก้ปวด, ยาแก้ท้องเสีย, ยาลดกรด, ยาระบาย

ทั้งหมดนี้ให้เตรียมไว้  2  ชุด  ไว้ในรถและที่บ้านอย่างละชุด

อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นไม่แพ้กัน

  • ไฟฉายที่ไม่ใส่และถ่านไฟฉายเตรียมคู่ไว้ (อย่าใส่ไว้ในกระบอกไฟฉายไฟจะหมดและถ้านานมากถ่านจะบวม)  เตรียมถ่านสำรองด้วย
  • วิทยุใช้ถ่านเพื่อคอยฟังข่าวจากทางการ  (กรณีไฟฟ้าดับ)  และเตรียมถ่านสำรองด้วย
  • เต้นท์นอน  เครื่องนอน  แบบชุดเดินป่าจะมีอุปกรณ์ยังชีพครบ
  • ผ้าพลาสติกรองนอน , ถุงนอนให้ความอบอุ่น , นกหวีด , กระดาษปากกา  
  • ร่ม , เสื้อกันฝน 
  • รองเท้าบูทลุยน้ำ  
อุปกรณ์รักษาความสะอาด

  • กระดาษชำระ , ผ้าอนามัย
  • สบู่   ยาสีฟัน  แชมพู  แปรงสีฟัน  หวี  ยาดับกลิ่นตัว
  • ส้วมพกพา , ถุงพลาสติกทิ้งสิ่งปฏิกูล  , เชือกมัดปากหรือยางรัดปากถุง

รายการสำหรับคนพิเศษ

  • ถ้าที่บ้านมีเด็กอ่อน   อย่าลืมสำรอง  นมผง , ผ้าอ้อม , ผ้าเช็ดตัว  ยารักษาโรค  สิ่งของสำคัญของเด็ก  
  • ถ้าเด็ก 3 - 6  ปี  ให้เตรียมสีเทียนไว้ให้  ให้เตรียมหนังสือการ์ตูน  เตรียมให้เหมาะกับวัยของเด็กในบ้าน  เพื่อผ่อนคลายความเครียดของเด็กเมื่อไปโรงเรียนไม่ได้  และห่างเพื่อน
  • ถ้าที่บ้านมีคนชรา  อย่าลืมยารักษาโรคประจำตัว  
  • ถ้ามีคนป่วย  อย่าลืมยาประจำตัวเช่น  ยาเบาหวาน  อินซูลีน เข็มสำรอง  ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาโรคหัวใจ  

เอกสารสำคัญ

  • หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ ๆ 
  • สมุดบัญชีธนาคาร  บัญชีทรัพย์สินมีค่า
  • หนังสือเดินทาง 
  • ประวัติการรักษาพยาบาล
  • เลขบัตรเครดิต
  • พินัยกรรม  , กรมธรรม์ประกันภัย
  • สัญญา  โฉลด  ใบหุ้น  ตราสารหนี้
  • ทะเบียนบ้าน  บัตรประชาชน  สูติบัตร   ทะเบียนสมรส   ให้เก็บไว้ในกระเป๋ากันน้ำได้  

หมายเหตุ :

  1. รายการสิ่งของให้ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
  2. สิ่งของที่เตรียมไว้  เก็บไว้ให้ทุกคนหยิบฉวยได้
  3. ตรวจอย่าให้ของกินและยา  หมดอายุ  
  4. อาจจะเพิ่มรายการสิ่งของจำเป็น  เช่น  อยู่ใกล้เขา ใกล้ป่า เพิ่มเข็มทิศ พลุสัญญาณ ด้วย

ความเห็นเพิ่มเติม  จากเหตุการณ์ที่เนปาลจะเห็นว่าคนที่ได้รับบาดเจ็บก็มี  คนที่ไม่ได้รับบาดเจ็บก็มี  ได้รับความเสียหายมากน้อยไม่เท่ากัน   ถ้าจะมองเป็นเรื่องดวงดีดวงซวยก็ได้  มองว่ามีเคราะห์กับไม่มีก็ได้ จะมองว่าเป็นเรื่องบุญกุศลที่รอดมาได้ก็ว่าได้   ความคิดในแง่มุมนี้มีมาก  ดังนั้นขอให้หมั่นทำบุญให้ทานรักษาศีล  เจริญภาวนา  ช่วยเหลือคนยากจน  แบ่งปัน  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ทำความดีไว้เสมอ ๆ สักวันผลบุญจะค้ำจุนเอง  ทำไปอย่าตั้งตารอว่าเมื่อไรผลบุญจะบังเกิด  ที่จริงบุญส่งผลให้ตลอดอยู่แล้วการที่เราอยู่ดีไม่มีอุบัติเหตุ  ไม่มีโรคร้ายแรง  ก็บุญอย่างหนึ่งนะ  เรื่องการตั้งชื่อ  นามสกุล  ตั้งชื่อร้าน  ชื่อบริษัท  ชื่อลูก  ก็ยังมองข้ามไม่ได้เพราะถือเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งเหมือนกัน  




-------------------------------------------------------









บทความที่ได้รับความนิยมใน 7 วันที่ผ่านมา